วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไร
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (เกษม, 2540) จากคำจำกัดความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่ คำว่า "ตัวเรา" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวมนุษย์เราเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ตัวเรานั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ต้องการศึกษา/รู้ เช่น ตัวเราอาจจะเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน หรืออาจจะเป็นน้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีข้อสงสัยว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีรัศมีจำกัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสิ่งต่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ได้มีขอบเขตจำกัด มันอาจอยู่ใกล้หรือไกลตัวเราก็ได้ จะมีบทบาทหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเราอย่างไรนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น โศกนาฏกรรมตึกเวิร์ดเทรด ซึ่งตัวมันอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แต่มีผลถึงประเทศไทยได้ในเรื่องของเศรษกิจ เป็นต้น





องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้
1. ลักษณะภูมิประเทศ
2. ลักษณะภูมิอากาศ
3. ทรัพยากรธรรมชาติ
สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม
สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ
1. การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น


ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ คือ สรรพสิ่ง ที่อยู่รอบตัวเรา แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบใหญ่ คือ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ คือ ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ แสง ฯลฯ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นต้น
ในแหล่งน้ำนี้จะมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตได้แก่สัตว์น้ำ ทั้งตัวเต็มวัย ตัวอ่อน และพืชน้ำนานาชนิด รวมทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และจุลินทรีย์จำนวนมากอาศัยอยู่รวมกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันไปตามบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่ม กล่าวคือ พืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีคลอโรฟีลล์ เป็นพวกที่สร้างอาหารได้เองโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเป็นผู้ผลิตแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่สัตว์ ซึ่งจะกินต่อกันเป็นทอดๆ จากสัตว์กินพืช สัตว์กินสัตว์ และสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารต่อไป เมื่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายตายลง ก็จะถูกจุลินทรีย์กลุ่มสิ่งมีชีวิตย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอนินทรีย์กลับคืนสู่แหล่งน้ำ
ในแหล่งน้ำจะมีสารและแร่ธาตุต่างๆละลายปนอยู่ในน้ำ ซึ่งมีปริมาณมากบ้างน้อยบ้างตามฤดูกาล เนื่องจากในหน้าแล้งน้ำก็จะระเหยออกไป ส่วนในฤดูฝนก็จะมีน้ำและสารต่างๆถูกชะล้างจากบริเวณใกล้เคียงไหลลงสู่แหล่งน้ำ จึงทำให้ปริมาณน้ำและสารต่างๆเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำก็ได้ใช้สารและแร่ธาตุต่างๆในการดำรงชีวิต ได้แก่ การหายใจ การเจริญเติบโต การสังเคราะห์ด้วยแสง ฯลฯ จากกระบวนการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งกระบวนการย่อยสลายของอินทรียสารของพวกจุลินทรีย์ จะมีการปล่อยสารบางอย่างออกสู่แหล่งน้ำ และสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำก็จะใช้สารเหล่านั้นในกระบวนการต่างๆอีก สารและแร่ธาตุต่างๆจึงหมุนเวียนเข้าสู่สิ่งมีชีวิต และปล่อยออกสู่แหล่งน้ำตลอดเวลาวนเวียนเป็นวัฏจักร
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในแหล่งน้ำนี้ เช่น มีปริมาณธาตุไนโตรเจนมากเกินไปก็จะมีผลทำให้พืชน้ำหลายชนิดเจริญเติบโตขยายพันธุ์มากและรวดเร็ว ในระยะแรกๆ สัตว์น้ำที่กินพืชเป็นอาหารจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น จนในที่สุดพืชที่เป็นแหล่งอาหารจะลดปริมาณลง ทำให้สัตว์กินพืชลดจำนวนลง และมีผลทำให้สัตว์กินสัตว์ลดจำนวนตามไปด้วย เนื่องจากอาหารไม่เพียงพอ
ในขณะที่สัตว์และพืชเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะเกิดความแออัด จะมีของเสียถ่ายสู่แหล่งน้ำมากขึ้น ทำให้คุณภาพของแหล่งน้ำนั้นเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการดำรงชีพของสัตว์และพืชบางชนิด แต่ไม่เหมาะสมสำหรับสัตว์และพืชอีกหลายชนิด ในแหล่งน้ำจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และจะพบว่ามีความสัมพันธ์กันภายในอย่างซับซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับปัจจัยต่างๆในแหล่งน้ำมีการควบคุมตามธรรมชาติที่ทำให้จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตอยู่ในภาวะสมดุลได้
ความสัมพันธ์ในสระน้ำนั้นเป็นตัวอย่างของหน่วยหนึ่งในธรรมชาติ เรียกว่า ระบบนิเวศ(ecosystem) ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณนั้น และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ได้แก่ ดิน น้ำ แสง ในระบบนิเวศจะมีการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ และมีการหมุนเวียนสารต่างๆจากสิ่งแวดล้อมสู่สิ่งมีชีวิตและจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งแวดล้อม
ระบบนิเวศมีทั้งระบบใหญ่ เช่น โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิตหรือชีวภาค (biosphere) ซึ่งรวมระบบนิเวศหลากหลายระบบ และระบบนิเวศเล็กๆ เช่น ทุ่งหญ้า สระน้ำ ขอนไม้ผุ ระบบนิเวศ จำแนกได้เป็น ระบบนิเวศตามธรรมชาติ ได้แก่ ระบบนิเวศบนบก เช่น ป่าไม้ บึง ทุ่งหญ้าทะเลทราย ระบบนิเวศน้ำ เช่น แม่น้ำลำคลอง ทะเล หนอง บึง มหาสมุทร ระบบนิเวศอีกประเภทหนึ่งคือ ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ระบบนิเวศ ชุมชนเมือง แหล่งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น





ความสัมพันธ์กับมนุษย์และระบบนิเวศ
มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ อาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตจากทรัพยากรธรรมชาติ
ประชากร ที่เพิ่มมากขึ้น มีผลต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• ต้องแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น
• ปรับปรุงเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต
• ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตสำหรับเลี้ยงประชากรโลก
• พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม
• พัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร การขนส่ง
• มีการแข่งขันทางการค้าและอุตสาหกรรมในระดับโลก
ประชากรเพิ่มมากขึ้น
• ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว
• ระบบนิเวศเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการสะสมของเสีย
• เกิดมลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัย
• ปัญหาของระบบนิเวศ
มีสาเหตุหลากหลาย ระดับท้องถิ่น เช่น น้ำเสียที่เกิดจากครัวเรือน อากาศเสียจากโรงงาน
อุตสาหกรรมในเมือง

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
1 ความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
และความหลากหลายทางชีวภาพ
1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งหรือองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ธาตุอาหารและพลังงานที่มีอยู่ในระบบนิเวศเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แต่มนุษย์ไม่ได้จำกัดการใช้ธาตุและพลังงาน จากระบบนิเวศชนิดเดียวเท่านั้น แต่มีความสามารถที่จะใช้ธาตุอาหารและพลังงาน จากระบบนิเวศทุกระบบที่มีอยู่ในโลกทั้งหมด เช่น สามารถที่จะนำสัตว์ทะเลมาเป็นอาหาร นำน้ำจากใต้ดินขึ้นมาดื่ม นำพืชที่อยู่ในป่ามาเป็นอาหาร ฯลฯ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีวิวัฒนาการการใช้ทรัพยากรทั้งหลายที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่ได้ใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายปกติเท่านั้น แต่มนุษย์ใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการด้านอื่นด้วย เช่น ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เครื่องประดับ น้ำมันเชื้อเพลิง และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ภายในโลก
ในปัจจุบันมนุษย์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ หรือต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย และในที่สุดมนุษย์ก็จะได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การเพิ่มประชากรทำให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
การเพิ่มของประชากรก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลงดังนี้
1.สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ปัญหาน้ำเสีย อากาศเสีย ฝุ่นละออง และขยะ มูลฝอย เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เช่นการสูญเสียระบบนิเวศที่ดีของสัตว์บกและสัตว์น้ำไป
3. การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ จากทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เรื่องของการใช้น้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
4. คุณภาพชีวิต คุณภาพชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัญหาของเมือง ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐาน ปัญหาการจราจร ซึ่งรวมไปถึงปัญหาการดำรงชีวิต และปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นต้น
ผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อคุณภาพชีวิต
การเพิ่มจำนวนของประชากรมีผลโดยตรงต่อการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นก็ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากร รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหากับประชากรด้วยเช่นกัน ดังมีกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. การขาดแคลนอาหาร
แม้ว่าผลิตผลทางการเกษตรของหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา จะมีปริมาณมาขึ้นก็ตาม แต่สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วผลผลิตจะคงที่ ขณะเดียวกันการเพิ่มจำนวนของประชากรทั้งโลกก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ประเทศที่มีความยากจนและขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ยังคงขาดแคลนอาหารมากยิ่งขึ้น ดังกรณีตัวอย่างในประเทศในทวีปแอฟริกาหลายประเทศ เช่น เคนยา เอธิโอเปีย โซมาลี ต้องล้มตายลง เนื่องมาจากการขาดแคลนอาหาร ส่วนที่มีชีวิตอยู่ก็เป็นประชากรที่ ไม่สมบูรณ์ทั้งทางสมองและร่างกาย มีการประมาณกันว่าประชากรของโลกอย่างน้อยต้องตายลงเพราะการขาดอาหารอย่างน้อยปีละ 15 ล้านคน
2. การเกิดโรค
การเพิ่มสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น สารพิษจากการเกษตร น้ำเสียและควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ฯลฯ ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของผู้ที่ได้รับสารพิษเหล่านั้น อันตรายจากสารพิษมีตั้งแต่เล็กน้อย เช่น วิงเวียน ปวดศีรษะ แพ้อากาศ ไปถึงการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และถ้าได้รับสารพิษ ในปริมาณมาก ก็ทำให้เสียชีวิตได้ทันที
ในประเทศไทย เคยพบว่าผู้ที่ดื่มน้ำที่มีสารหนูเจือปน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เป็นพื้นที่เหมืองเก่า ทำให้ผิวหนังมีผื่นขึ้นทั่วไป การกินอาหารที่มีสารพิษตกค้างจากการเกษตร สารพิษที่เกิดจากการปรุงแต่งสีและรสชาด อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคหัวใจ มะเร็ง โรคผิวหนัง โรคตับ และมีผลต่อทารกในครรภ์มารดา การอยู่ในบริเวณที่เสียงดังเกินกว่า 80 เดซิเบล เป็นเวลานานก็อาจทำให้หูตึงได้
3. การอพยพย้ายถิ่น
การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและความแห้งแล้ง ทำให้ประชากรในหลายประเทศต้องอพยพย้ายถิ่น ไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ทั้งเป็นการอพยพย้ายถิ่นภายในประเทศและระหว่างประเทศ ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชีย นับว่ามีการอพยพ ย้ายถิ่นสูงกว่าประเทศในยุโรป และอเมริกาเหนือ
การอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศในปัจจุบัน มักจะเกิดขึ้นหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางความคิด และการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
4.ปัญหาสังคม
การขาดแคลนทรัพยากรได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น การที่ประชาชนบุกรุกป่าพื้นที่ป่าสงวน การตัดไม้อย่างผิดกฎหมายของผู้มีอิทธิพล เกิดการลอบทำร้ายซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการควบคุมดูแลทรัพยากร ประพฤติทุจริตต่อหน้าที่ จะเห็นได้ว่าปัญหาสังคมหลายอย่างมักจะมีสาเหตุมาจาก การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสาเหตุสำคัญ
5. ความยากจน
ต้นเหตุของปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นในโลกประการหนึ่งคือ การที่ประชากรของประเทศ ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประเทศที่จัดว่ามีความยากจน ก็มักจะเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากร และความหนาแน่นของประชากรมาก เช่น จีน อินเดีย บังคลาเทศ ยกเว้นในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ แต่ถ้าประชากรมีความรู้ดี ก็สามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแสวงหา เปลี่ยนแปลงและแลกเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติได้ เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น
6.ขาดที่พักผ่อนหย่อนใจ
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาตินับว่าเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ดีของมนุษย์ จะเห็นได้ว่าเมื่อบ้านเมืองมีความเจริญมากขึ้นเท่าไร ความต้องการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติก็ยิ่งมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นทุกวัน ในปัจจุบันประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง จะนิยมออกไปพักผ่อนตามชายทะเล น้ำตก อุทยานแห่งชาติ เขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น แต่สถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจกลับมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อประชากชนออกไปใช้กันมากขึ้น ก็กลับทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เช่น ที่บางแสน พัทยา สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม
7. ขาดสถานที่ศึกษาหาความรู้
สิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติเป็นแหล่งที่จะให้ความรู้ที่สำคัญแก่มนุษย์ได้ โดยตรง ไม่ว่ามนุษย์จะมีความก้าวหน้าขึ้นมากเท่าใด แต่การดำรงชีวิตของมนุษย์ ก็ยังคงจะต้องอาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติ การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบตัวมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้ต่อไป แต่การเปลี่ยนแปลง และก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน จะทำให้มนุษย์ขาดสถานที่ ที่จะศึกษาหาความรู้ได้โดยตรง ทำให้เกิดความยากลำบากที่จะส่งเสริมให้เกิดความรักและหวงแหนธรรมชาติและจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในอนาคต
วิเคราะห์ปัญหาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น อากาศเสีย น้ำเสีย การสูญเสียป่าไม้ ฯลฯ ต่างก็เกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรม ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่จะต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในที่สุดมนุษย์ก็จะได้รับผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ เกิดการขาดอาหาร เกิดการอพยพครอบครัว ฯลฯ ตามมา ดังนั้นถ้าจะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมแล้ว จึงพอจะทราบสาเหตุของความเสื่อมทรามของสิ่งแวดล้อมว่า เกิดมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. จำนวนประชากรมากเกินไป
การเพิ่มจำนวนประชากร ทำให้มีความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรทุกชนิดเพิ่มขึ้น เช่น ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวน ทำให้มีอัตราการใช้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้น ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ก่อให้เกิดอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฯลฯ
2. ธรรมชาติขาดความสมดุล
การร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบัน ก็เนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์ที่มีการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้สิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพสมดุลได้ เมื่อองค์ประกอบในระบบนิเวศขาดหายไป ทำให้เกิดการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใหม่ แต่ก่อนหน้านั้นความไม่สมดุลของธรรมชาติได้เกิดขึ้นแล้ว และความไม่สมดุลของธรรมชาตินี้เองก็จะทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพเน่าเสีย มีสารพิษในอากาศ ต้นไม้ตาย อากาศร้อน ฯลฯ มนุษย์จะได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3. ความจำกัดในการเติบโตของประชากร
ในอนาคต ถ้ามนุษย์ต้องตกอยู่ในสภาวะที่ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอลงไป และมีความเป็นพิษมากขึ้น จำนวนประชากรก็จะไม่สามารถเพิ่มอีกต่อไป แต่กลับต้องลดลงมา จนกว่าจำนวน จะอยู่ในระดับที่พอดี ที่จะทำให้ธรรมชาติมีความสมดุล (ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ) ดังแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้
กราฟแสดงจำนวนจำกัดของประชากร

ในสภาวะที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลง ถึงขนาดที่จะทำให้จำนวนประชากร ลดลงนั้นจะเป็นภาวะวิกฤติของสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีอะไร จะมายับยั้งความตายของมนุษย์ลงได้ และหลังจากนั้นอีกเป็นเวลานาน กว่าที่สิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติจะกลับคืนสู่สภาพปกติได้อีกครั้งหนึ่ง
1.3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับความหลากหลายทางชีวภาพ
การรุกรานเข้าไปในพื้นที่ธรรมชาติเพื่อสร้างเขื่อน พื้นที่การเกษตร ทางหลวง ท่อน้ำมัน ระบบชลประทาน และการใช้ยาฆ่าแมลง มีผลทำให้ระบบนิเวศลดความซับซ้อนลง มนุษย์ทำการโค่นถางป่าไม้และปรับพื้นดิน เดิมพื้นที่นี้เต็มไปด้วย สิ่งมีชีวิตนับพันตระกูล ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ก็มาทำการปกปิดพื้นดินเสียใหม่ด้วยการสร้างตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทางและพื้นที่การเกษตรครอบลงไป ด้วยการปลูกพืชเพียงอย่างเดียว การเกษตรกรรมสมัยใหม่ มีผลทำให้ระบบนิเวศ ในพื้นที่นั้นย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของความต่อเนื่อง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผลผลิตสุทธิเพียง 1 หรือ 2 ชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ในปริมาณสูง
ระบบการปลูกพืชให้โตเร็วปลูกเพียงชนิดเดียว มีผลทำให้ระบบอ่อนแอมาก วัชพืชและโรคพืชหรือแมลงศัตรูพืชเพียงชนิดเดียว สามารถทำลายแปลงปลูกพืชได้หมด แม้ว่าจะมีการพ่นสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ป้องกันไว้แล้วก็ตาม เนื่องจากแมลงทีการผสมพันธุ์และออกไข่อย่างรวดเร็ว แมลงช่วงชั้นอายุใหม่ จึงมีความต้านทานสารเคมีสูง เกษตรกรจึงต้องใช้ยาฆ่าแมลงที่แรงและเข้มข้นมากขึ้น หรือเปลี่ยนไปใช้ยาฆ่าแมลงชนิดอื่นแทน สารเคมีเหล่านี้จะฆ่าชีวิตชนิดอื่นที่อาจจะช่วยจับแมลงด้วย
ดังนั้น การทำระบบนิเวศให้ซับซ้อนน้อยลง ในระยะยาวแล้วจะทำให้จำนวนแมลงเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แต่การเพาะปลูกเท่านั้นที่จะทำให้ระบบนิเวศ ลดความซับซ้อนลง ในปศุสัตว์เพื่อเลี้ยงวัว ม้า แกะ แพะ มีผลทำให้สัตว์ธรรมชาติ ไม่มีที่อยู่ ถูกจำกัดหรือ สูญพันธ์ไป ซึ่งมีผลเสียดังที่กล่าวมาแล้ว
สมดุลระหว่างความไม่ซับซ้อนและความหลากหลาย
คงไม่ถือว่าเป็นความผิดในการที่มนุษย์ถางป่า ทำให้ระบบนิเวศลดความสลับซับซ้อนลง เพื่อนำพื้นที่ไปใช้ในการเพาะปลูกพืชอาหารเพื่อเลี้ยงมนุษย์ แต่ว่าการทำระบบนิเวศวิทยาให้ลดความซับซ้อนลงนี้ มนุษย์ต้องจ่ายมากขึ้น เพื่อรักษาระบบให้มีเสถียรภาพ ทั้งเวลา เงิน สสาร และพลังงาน ซึ่งสรุปได้ดังตารางในหน้าถัดไป
อันตรายที่ยิ่งใหญ่ในขณะนี้คือ มีประขากรมนุษย์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ทำให้มนุษย์ต้องทำลายระบบนิเวศเพิ่มขึ้น เพื่อนำพื้นที่มาปลูกพืชอาหาร ข้อควรปฏิบัติก็คือ
มนุษย์ควรรักษาดุลระบบนิเวศเอาไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้ามนุษย์ถางป่าในที่ราบเพื่อเป็นพื้นที่เพาะปลูก ควรรักษาพื้นที่ป่าบนภูเขาเอาไว้ เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร เพื่อให้ป่าไม้ค่อย ๆ ปล่อยน้ำลงสู่ที่ราบ และเป็นแหล่งผลิตสารอาหารพืชตามธรรมชาติ ซึ่งจะถูกพัดพาลงสู่ที่ราบในฤดูฝน อย่างไรก็ตามการจะรักษาดุลระบบนิเวศไว้ได้ มนุษย์ยังต้องเรียนรู้กลไกของระบบนิเวศอีกมากเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ ที่แท้จริงของระบบนิเวศ จะได้เป็นข้อมูลในการรักษาดุลระบบนิเวศได้อย่างมีประสิทธ์ภาพต่อไป
ตารางแสดง การเปรียบเทียบคุณสมบัติของระบบนิเวศธรรมชาติกับระบบนิเวศที่ไม่ซับซ้อนที่มนุษย์สร้างขึ้น
ระบบนิเวศธรรมชาติ ระบบนิเวศที่ไม่ซับซ้อน
หนองน้ำ ทุ่งหญ้า ป่าไม้ ไร่ข้าวโพด โรงงานและ บ้าน
1. ดูดซับ เปลี่ยนแปลง และสะสมพลังงาน
จากดวงอาทิตย์ 1. บริโภคพลังงานจากเชื้อเพลิง จากซาก
บรรพชีวิต และนิวเคลียร์
2. ผลิตออกซิเจน บริโภคคาร์บอนไดออกไซด์ 2. บริโภคออกซิเจนและผลิคาร์บอนได-ออกไซด์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจาก
ซากบรรพชีวิน
3. ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ 3. ลดความอุดมสมบูรณ์หรือปกปิดดิน
4.สะสม ทำความสะอาดและระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง 4.ใช้น้ำและทำให้น้ำสกปรก แล้วปล่อยทิ้งอย่างรวดเร็ว
5. สร้างถิ่นที่อยู่ให้สัตว์ป่า 5. ทำลายถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าบางชนิด
6. กรองกละกำจัดพิษของมลสารและไม่สร้างของเสียให้เกิดขึ้น 6. ก่อให้เกิดมลสาร ขยะมาก ที่จะทำความสะอาดได้ด้วยความสามารถ
ของมนุษย์ในปัจจุบัน
7. ตามปกติมีความสามารถและดำรงสภาพ และ ซ่อมแซมด้วยตัวมันเองได้ 7. จำเป็นต้องดูแลและรักษาอย่างต่อเนื่องและมีการดูแลด้วยทุนสูง
การลดความหลากหลายในระบบนิเวศด้วยการกำจัดและนำชีวิตตระกูลใหม่เข้ามา
มนุษย์ทำการแบ่งพืชและสัตว์เป็นสองพวกคือ พวกดีมีคุณค่า กับพวกไม่ดีไร้คุณค่า และถือเป็นหน้าที่ที่จะกำจัดชีวิตที่ไม่พึงปรารถนาออกไป การกำจัดชีวิตหนึ่ง ๆ ออกไป ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวัง ชีวิตนั้นมีความสำคัญมาก เพราะมันอาจจะเป็น
1. โซ่อาหาร หรือโครงข่ายอาหาร
2. วัฏจักรเคมี หรือวัฏจักรของพลังงาน
3. เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เป็นดรรชนีบ่งบอกความสมดุลของระบบนิเวศ เมื่อชีวิตที่เป็นดรรชนี บ่งบอกความสมดุลของระบบนิเวศนั้นถูกกำจัดไป ผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึง อาจเกิดขึ้นรุนแรง เกินกว่าที่จะคาดคิดก็อาจเป็นได้
ผลกระทบเชิงนิเวศวิทยาอาจเกิดจากการนำชีวิตตระกูลใหม่ เข้าสู่พื้นที่ก็อาจเป็นได้ ในปี ค.ศ.1948 มีการนำแมว 5 ตัว ไปยังเกาะโดดเดี่ยว คือเกาะแอนตาร์กติค เพื่อควบคุมประชากรหนู ปัจจุบันนี้เกาะนั้นก็ยังมีหนูอย่างอุดมสมบูรณ์พร้อมทั้งมีแมวป่าเพิ่มอีก 2,500 ตัว ซึ่งไล่จับนกบนเกาะกินมากกว่าปีละ 600,000 ตัว
ในมลฑลเสฉวน ประเทศจีน ทำการโฆษณาให้ประชาชนช่วยกันจับงูเป็น ๆ จำนวน 200,000 ตัว เพื่อใช้ทำยาและอาหาร ปรากฏว่าโครงการสำเร็จด้วยดีแต่ผลที่ตามมาคือ มีหนูเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล หนูเหล่านี้สร้างความสูญเสียให้กับชาวไร่ ข้าวโพดและนาข้าวสุดคณานับ
การทำลายโครงข่ายอาหารจากสารเคมีสังเคราะห์
ครั้งหนึ่งมาเลเรียเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนในเกาะบอร์เนียวเหนือมากถึง 9 ใน 10 ของผู้เสียชีวิต ในปี ค.ศ.1955 องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงทำการพ่นสารเคมีชื่อ ดีลดริน (Dieldrin) เป็นยาฆ่าแมลงที่มีคุณสมบัติคล้าย DDT เพื่อฆ่ายุงพาหะของไข้ มาเลเรีย โครงการกำจัดไข้มาเลเรียในเกาะบอร์เนียวเหนือ ประสบความสำเร็จอย่างสูงโรคแห่งมรณะภัยสูญหายไปจากเกาะบอร์เนียวเหนือ แต่ว่ามีเหตุการณ์อย่างอื่นเกิดขึ้น ดีลดรินฆ่าแมลงอื่นด้วยนอกจากยุง รวมทั้งแมลงวันและแมลงสาบซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในบ้านเรือน ชาวเกาะต่างก็ชื่นชมยินดีหลังจากนั้นแม้แต้จิ้งจกตัวเล็ก ๆ ซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านต่างก็ตายลงด้วย เมื่อจิ้งจกไปกินซากแมลงที่ตายด้วยยาฆ่าแมลง เมื่อแมวไปกินซากจิ้งจก แมวก็ตายลงเช่นกัน เมื่อไม่มีแมว หนูจึงเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วและวิ่งเพ่นพ่านเต็มหมู่บ้านไปหมด ตอนนี้ประชากรจึงต้องมาตายลงด้วยกาฬโรคที่มีหมัดหนูเป็นพาหะ โชคดีที่ภาวะเลวร้ายนี้ องค์การอนามัยโลกเข้าไปควบคุมไว้ได้ โดยการใช้เครื่องบินนำแมวไปทิ้งลงบนเกาะบอร์เนียวด้วยร่มชูชีพ เหนืออื่นใดหลังคาใบจากของบ้านเรือนชาวเกาะบอร์เนียวเริ่มมีรูโหว่ เนื่องจากดีลดริน ฆ่าตัวหมาร่าและมดที่อาศัยอยู่ตามหลังคาบ้านเรือนที่ทำด้วยใบจาก หมาร่าและมดดำรงชีพอยู่โดยการกินมอดที่กินใบจาก มอดไม่ได้รับผลกระทบจากยาฆ่าแมลง เนื่องจากถูกปกปิดด้วยใบจาก เมื่อศัตรูธรรมชาติของมอดสูญพันธ์ มอดจึงมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวอ่อนของมอดจึงเติบโตได้อย่างปลอดภัยด้วยการกินใบจากที่ใช้ทำหลังคาบ้าน แม้ว่าในที่สุดชาวเกาะบอร์เนียวจะปราบไข้มาเลเรียได้ แต่ว่าผลข้างเคียงที่ไม่ได้คาดคิดก็ตามมาอีกมาก แม้ว่าในที่สุดเหตุร้ายทุกอย่างจะถูกควบคุมไว้ได้ แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่มีมากเกินกว่าจะคาดคิด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากเราไปขัดขวางระบบนิเวศ
การรักษาเสถียรภาพของความหลากหลายทางชีวภาพ
ปัจจุบันเชื่อกันว่า ระบบนิเวศวิทยายิ่งมีความหลากหลายมากขึ้น และสลับซับซ้อน มากขึ้นเพียงใด เสถียรภาพของระบบนิเวศวิทยา ก็ยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้น โดยเชื่อกันว่า ยิ่งเผ่าพันธ์สิ่งมีชีวิต มีความหลากหลายมากขึ้นเพียงใด แสดงว่าโครงข่ายอาหารยิ่งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เสถียรภาพของระบบนิเวศยิ่งมีมากขึ้น ความหลากหลายของเผ่าพันธุ์ชีวิตก็มีมากตามไปด้วย และทำให้บทบาทหน้าที่เชิงนิเวศวิทยาของแต่ละชีวิต ยิ่งมีมากขึ้น ความสลับซับซ้อนของโครงข่ายอาหารช่วยให้ระบบนิเวศวิทยามีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากสัตว์มีแหล่งอาหารมากขึ้น เช่น ชีวิตเผ่าพันธ์หนึ่งสูญไปสัตว์ล่าเหยื่อ ก็ยังมีแหล่งอาหารอื่น ๆ สำรองอยู่อีกเป็นต้น
แต่ความหลากหลายและความสลับซับซ้อน ช่วยให้ระบบนิเวศมีเสถียรภาพมากขึ้นจริงหรือ ถ้าความคิดนี้เป็นจริง ระบบนิเวศที่ไม่สลับซับซ้อน เช่น ระบบนิเวศวิทยาเขตทุนดรา และทุ่งเกษตรกรรมที่ปลูกพืชเพียงชนิดเดียว (monoculture) ก็ต้องมีเสถียรภาพน้อยกว่าเสถียรภาพของระบบนิเวศที่มีความหลากหลาย และสลับซับซ้อนมากกว่าเช่น ป่าดงดิบเขตร้อน ป่าดงดิบเป็นระบบนิเวศที่มีสภาวะ เสถียรภาพสูงมาก ถ้าป่านั้นไม่ถูกก่นถางเสียก่อน และสิ่งที่มีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ในป่าดงดิบนั้นมีความหลากหลายในเผ่าพันธุ์ และขนาดของประชากรของสิ่งมีชีวิต มากกว่าในเขตทุนดรา พืชอาหารที่ทำการปลูกเพียงชนิดเดียวมีแนวโน้มจะถูกทำลายด้วยโรคพืช หรือศัตรูพืชเพียงชนิดเดียวได้สูงมาก และเกษตรกรต้องให้การดูแลอย่างดี
นักนิเวศวิทยาให้ความเห็นว่าสภาพนิเวศวิทยาของป่าเขตร้อน นั้นเป็นผลมาจากภูมิอากาศคงที่ตลอดปี และเป็นเช่นนี้มานับ หนึ่งพันปี และกล่าวเพิ่มเติมว่า ป่า ดงดิบนั้นจะไร้เสถียรภาพมาก เมื่อมีการตัดไม้ซุงออกไป หรือเพียงก่นถางเป็นพื้นที่ไม่มากนัก ป่าจะกลับคืนสภาพเดิมได้ช้ามาก เช่นเดียวกับความไร้เสถียรภาพในเขตทุนดรา ที่สังเกตได้จากความไม่สม่ำเสมอของความหลากหลายในจำนวน และขนาดประชากรของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้เนื่องจากความไม่แน่นอนของภูมิอากาศในเขตทุนดรา นั่นเอง แม้กระนั้นก็ตามป่าทุนดรา จะมีแรงเค้นเข้าครอบงำได้น้อยกว่า แต่เมื่อถูกทำลายไปแล้ว การจะกลับคืนสภาพเดิมก็ช้ากว่าป่าดงดิบมาก
มีปัญหาบางประการที่ทำให้มีการโต้แย้งว่า เสถียรภาพของระบบนิเวศวิทยามาจากความหลากหลายและสลับซับซ้อนของระบบจริงหรือ ? ประการแรก จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มสนับสนุนว่า ความเชื่อดังกล่าวจะเป็นจริงในระบบนิเวศในน้ำ และระบบในโลกแห่งความเป็นจริง ประการที่สอง คำว่าความหลากหลายกับความสลับซับซ้อนมีหลายความหมาย อาจหมายถึงความหลากหลายของชาติพันธุ์ ความหลากหลายของโครงข่ายอาหาร ความหลากหลายของสารพันธุกรรม ความหลากหลายของบทบาทหน้าที่ในระบบนิเวศ ความหลากหลายเชิงชีววิทยา
ความหลากหลายทำให้เกิดเสถียรภาพ ในระบบนิเวศนั้น เป็นจริงในบางกรณี การนำไปประยุกต์ ใช้กับทุกสถานการณ์ จึงเป็นเรื่องที่ควรคำนึง

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต
การดำรงอยู่ของมนุษย์นั้นจะต้องอยู่ภายใต้ระบบนิเวศซึ่งอาจจะเป็นระบบเดียว
หรือหลายระบบในบริเวณหนึ่งบริเวณใด ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยมนุษย์ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตอันได้แก่สิ่งมีชีวิตที่หลากหลายหรือชีวาลัย
สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตซึ่งได้แก่ พื้นดิน น้ำและอากาศ และ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีลักษณะของความ สัมพันธ์ดังต่อไปนี้
ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีชีวิต ความสัมพันธ์กับ
สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตบางปัจจัย ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ที่มนุษย์สร้างขึ้น


กระบวนการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่อยู่เป็นระบบนิเวศทางเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นจำเป็นต้องมีปฎิสัมพันธ์กับระบบนิเวศทาง
ชีววิทยาแบบต่าง ๆระบบนิเวศทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะระบบอุตสาหกรรมนั้นเป็นระบบที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยระบบนิเวศทาง
ชีววิทยาอย่างที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมจึงมีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ หรือเป็นความ สัมพันธ์ที่ต่างเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ที่สำคัญได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจริยธรรม ที่มีผลต่อระบบคุณค่าและค่านิยมของสังคม จุดมุ่งหมาย การจัดองค์กรทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และระดับการพัฒนาเทคโนโลย ีจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมก็ย่อม มีผลต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป ย่อมที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ตามธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะกระทบกระเทือนต่อการดำรงชีพของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แต่สภาวะแวดล้อมในปัจจุบันไม่เพียงเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติเท่านั้น มนุษย์ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก ยิ่งถ้าไม่มีการวางแผนที่รอบคอบและรัดกุม จะก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะ แวดล้อมจนอาจจะปรับคืนสู่สภาพปกติได้ยากหรือทำให้เสียสภาพเดิมไป กลายเป็นสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีพ และถึงขั้นที่อาจเป็น อันตรายต่อ สิ่งมีชีวิตได้



อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
ในสมัยก่อนที่ประชากรของมนุษย์บนโลกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยนั้น การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาวิถีชีวิตด้วยเทคโนโลยีให้มีความเป็นอยู่สุขสบายดี การบุกรุกสภาพสมดุลของธรรมชาติจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
ปัจจุบันนี้มนุษย์มักจะทำให้ระบบนิเวศในโลกนี้เป็นระบบนิเวศที่ธรรมดา โดยเฉพาะการเกษตรในปัจจุบันได้พยายามลดระดับต่าง ๆ ในห่วงโซ่อาหารให้เหลือน้อยที่สุด โดยการกำจัดพืชและหญ้าหลายชนิดไปเพื่อพืชชนิดเดียว เช่น ข้าวสาลี หรือข้าวโพด ซึ่งทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ความมั่นคงระบบนิเวศลดน้อยลง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น โอกาสที่ระบบนิเวศจะถูกทำลายก็จะมีมาก
นอกจากนั้น บริเวณการเกษตรทั่วโลกก็นับเป็นบริเวณที่ระบบนิเวศถูกทำลายมาก ทั้งนี้เพราะมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย สารพิษที่เกิดจากการเกษตรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตระดับสูง ๆ ได้ตามห่วงโซ่อาหาร จึงมักสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตในปริมาณที่เข้มข้นกว่าที่มีในสิ่งแวดล้อมเสมอ ดังตัวอย่างของการใช้ DDT
เมื่อมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในบริเวณที่หนึ่ง DDT ซึ่งเป็นส่วนผสมของยากำจัดศัตรูพืชนั้น จะตกค้างอยู่ในดินถูกชะล้างลงในแม่น้ำและสะสมอยู่ในแพลงค์ตอน เมื่อสัตว์น้ำชนิดอื่น เช่น ปลามากินแพลงค์ตอน DDT ก็จะเข้าไปสะสมในตัวปลาเป็นปริมาณมากกว่าที่อยู่ในแพลงค์ตอนและเมื่อนกซึ่งกินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เข้าไป ก็จะสะสมไว้ในปริมาณสูง เมื่อสัตว์อื่นมากินนกก็ยิ่งจะทำให้การสะสม DDT ในตัวมันสูงมากขึ้นไปอีก ถ้า DDT สูงขึ้นถึงขีดอันตรายก็จะทำให้สัตว์ตายได้หรือไม่ก็ผิดปกติ DDT ส่วนใหญ่จะสะสมในเนื้อเยื่อไขมันและขัดขวางการเกาะตัวของ แคลเซี่ยมที่เปลือกไข่ทำให้ไข่บางแตกง่ายและไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้มีรายงานว่าในประเทศสวีเดน และในประเทศญี่ปุ่นมีนกบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากผลกระทบสะสมตัวของ DDT
การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ มิฉะนั้นก็อาจจะเกิดผลเสียหายร้ายแรง ทั้งต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนทำให้เกิดบริเวณน้ำขังจำนวนมหาศาลอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคเนื่องจากพาหะของโรคนั้นสามารถเติบโตได้ดีในบริเวณน้ำนิ่ง

ปัจจุบันปะการังได้ถูกทำลาย เนื่องจากกิจกรรมการท่องเที่ยว วิธีการที่จะดำเนินการฟื้นฟูวิธีการหนึ่ง โดยการสร้างปะการังเทียม โดยนำยางรถยนต์ไปไว้ใต้ทะเลให้ปะการังอาศัยเกาะอยู่ เพื่อให้มีส่วนปรับระบบนิเวศในท้องทะเล
ชีวาลัย (Biosphere) เป็นส่วนหนึ่งของโลก ที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ได้แก่ บริเวณที่เป็นมหาสมุทรน้ำจืด บรรยากาศและชั้นดินบางส่วนมีผู้เปรียบเทียบว่าถ้าให้โลกของเราสูงเท่ากับตึก 8 ชั้น ชีวาลัย (Biosphere) จะมีความหนาเพียงครึ่งเท่านั้นซึ่งแสดงว่าบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้นั้นบางมาก ทรัพยากรธรรมชาติจึงมีจำกัดเกินกว่าที่เราคาดหมายไว้ มนุษย์เองเป็นเพียงส่วนน้อยนิดของชีวาลัยซึ่งยังต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม ในชีวาลัย เพื่อมีชีวิตรอดมนุษย์อาจจะเปลี่ยนหรือทำลายระบบนิเวศระบบใดได้ แต่มนุษย์จะไม่สามารถทำลายชีวาลัยได้ เพราะเท่ากับเป็นการทำลายตนเอง
ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องนิเวศวิทยา จึงเป็นการทำให้มนุษย์ได้เข้าใจถึงฐานะ และหน้าที่ของตัวเองว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบเท่านั้น การกระทำใด ๆ ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมมีผลเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในระบบด้วยเช่นเดียวกับที่มีผลต่อมนุษย์เอง
ดังนั้นเราจึงควรตระหนักว่าในการพัฒนาใด ๆ ของมนุษย์ที่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นวัตถุดิบนั้นเราจะต้องคำนึงถึงปัญหาการเสียสมดุลทางนิเวศวิทยาด้วย เพื่อไม่ให้การพัฒนานั้นย้อนกลับมาสร้างปัญหาต่อมนุษย์เองไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภาวะมลพิษหรือการขาดแคลนทรัพยากรในอนาคต

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมหมายถึงอะไร
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาและไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ (เกษม, 2540) จากคำจำกัดความดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา แต่ คำว่า "ตัวเรา" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงตัวมนุษย์เราเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว ตัวเรานั้นเป็นอะไรก็ได้ที่ต้องการศึกษา/รู้ เช่น ตัวเราอาจจะเป็นดิน ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมดิน หรืออาจจะเป็นน้ำ ถ้ากล่าวถึงสิ่งแวดล้อมน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีข้อสงสัยว่า สิ่งที่อยู่รอบตัวเรามีรัศมีจำกัดมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าสิ่งต่างที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ไม่ได้มีขอบเขตจำกัด มันอาจอยู่ใกล้หรือไกลตัวเราก็ได้ จะมีบทบาทหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อตัวเราอย่างไรนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับลักษณะและพฤติกรรมของสิ่งนั้นๆ เช่น โศกนาฏกรรมตึกเวิร์ดเทรด ซึ่งตัวมันอยู่ถึงสหรัฐอเมริกา แต่มีผลถึงประเทศไทยได้ในเรื่องของเศรษกิจ เป็นต้น





องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม มีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้
1. ลักษณะภูมิประเทศ
2. ลักษณะภูมิอากาศ
3. ทรัพยากรธรรมชาติ
สาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อม
สาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อมมีอยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ
1. การเพิ่มของประชากร (Population growth) ปริมาณการเพิ่มของประชากรก็ยังอยู่ในอัตราทวีคูณ (Exponential Growth) เมื่อผู้คนมากขึ้นความต้องการบริโภคทรัพยากรก็เพิ่มมากขึ้นทุกทางไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหาร ที่อยู่อาศัย พลังงาน
2. การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) ความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นทำให้มาตรฐานในการดำรงชีวิตสูงตามไปด้วย มีการบริโภคทรัพยากรจนเกินกว่าความจำเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต มีความจำเป็นต้องใช้พลังงานมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีก็ช่วยเสริมให้วิธีการนำทรัพยากรมาใช้ได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น


ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ คือ สรรพสิ่ง ที่อยู่รอบตัวเรา แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบใหญ่ คือ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ คือ ดิน น้ำ ป่าไม้ อากาศ แสง ฯลฯ และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน ศิลปกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม เป็นต้น
ในแหล่งน้ำนี้จะมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตได้แก่สัตว์น้ำ ทั้งตัวเต็มวัย ตัวอ่อน และพืชน้ำนานาชนิด รวมทั้งสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และจุลินทรีย์จำนวนมากอาศัยอยู่รวมกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันไปตามบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่ม กล่าวคือ พืชและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีคลอโรฟีลล์ เป็นพวกที่สร้างอาหารได้เองโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเป็นผู้ผลิตแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่สัตว์ ซึ่งจะกินต่อกันเป็นทอดๆ จากสัตว์กินพืช สัตว์กินสัตว์ และสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารต่อไป เมื่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายตายลง ก็จะถูกจุลินทรีย์กลุ่มสิ่งมีชีวิตย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอนินทรีย์กลับคืนสู่แหล่งน้ำ
ในแหล่งน้ำจะมีสารและแร่ธาตุต่างๆละลายปนอยู่ในน้ำ ซึ่งมีปริมาณมากบ้างน้อยบ้างตามฤดูกาล เนื่องจากในหน้าแล้งน้ำก็จะระเหยออกไป ส่วนในฤดูฝนก็จะมีน้ำและสารต่างๆถูกชะล้างจากบริเวณใกล้เคียงไหลลงสู่แหล่งน้ำ จึงทำให้ปริมาณน้ำและสารต่างๆเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำก็ได้ใช้สารและแร่ธาตุต่างๆในการดำรงชีวิต ได้แก่ การหายใจ การเจริญเติบโต การสังเคราะห์ด้วยแสง ฯลฯ จากกระบวนการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งกระบวนการย่อยสลายของอินทรียสารของพวกจุลินทรีย์ จะมีการปล่อยสารบางอย่างออกสู่แหล่งน้ำ และสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำก็จะใช้สารเหล่านั้นในกระบวนการต่างๆอีก สารและแร่ธาตุต่างๆจึงหมุนเวียนเข้าสู่สิ่งมีชีวิต และปล่อยออกสู่แหล่งน้ำตลอดเวลาวนเวียนเป็นวัฏจักร
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในแหล่งน้ำนี้ เช่น มีปริมาณธาตุไนโตรเจนมากเกินไปก็จะมีผลทำให้พืชน้ำหลายชนิดเจริญเติบโตขยายพันธุ์มากและรวดเร็ว ในระยะแรกๆ สัตว์น้ำที่กินพืชเป็นอาหารจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น จนในที่สุดพืชที่เป็นแหล่งอาหารจะลดปริมาณลง ทำให้สัตว์กินพืชลดจำนวนลง และมีผลทำให้สัตว์กินสัตว์ลดจำนวนตามไปด้วย เนื่องจากอาหารไม่เพียงพอ
ในขณะที่สัตว์และพืชเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะเกิดความแออัด จะมีของเสียถ่ายสู่แหล่งน้ำมากขึ้น ทำให้คุณภาพของแหล่งน้ำนั้นเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลดีต่อการดำรงชีพของสัตว์และพืชบางชนิด แต่ไม่เหมาะสมสำหรับสัตว์และพืชอีกหลายชนิด ในแหล่งน้ำจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และจะพบว่ามีความสัมพันธ์กันภายในอย่างซับซ้อน ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับปัจจัยต่างๆในแหล่งน้ำมีการควบคุมตามธรรมชาติที่ทำให้จำนวนและชนิดของสิ่งมีชีวิตอยู่ในภาวะสมดุลได้
ความสัมพันธ์ในสระน้ำนั้นเป็นตัวอย่างของหน่วยหนึ่งในธรรมชาติ เรียกว่า ระบบนิเวศ(ecosystem) ซึ่งเป็นระบบความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในบริเวณนั้น และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ได้แก่ ดิน น้ำ แสง ในระบบนิเวศจะมีการถ่ายทอดพลังงานระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ และมีการหมุนเวียนสารต่างๆจากสิ่งแวดล้อมสู่สิ่งมีชีวิตและจากสิ่งมีชีวิตสู่สิ่งแวดล้อม
ระบบนิเวศมีทั้งระบบใหญ่ เช่น โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิตหรือชีวภาค (biosphere) ซึ่งรวมระบบนิเวศหลากหลายระบบ และระบบนิเวศเล็กๆ เช่น ทุ่งหญ้า สระน้ำ ขอนไม้ผุ ระบบนิเวศ จำแนกได้เป็น ระบบนิเวศตามธรรมชาติ ได้แก่ ระบบนิเวศบนบก เช่น ป่าไม้ บึง ทุ่งหญ้าทะเลทราย ระบบนิเวศน้ำ เช่น แม่น้ำลำคลอง ทะเล หนอง บึง มหาสมุทร ระบบนิเวศอีกประเภทหนึ่งคือ ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ระบบนิเวศ ชุมชนเมือง แหล่งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น





ความสัมพันธ์กับมนุษย์และระบบนิเวศ
มนุษย์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คนเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ อาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตจากทรัพยากรธรรมชาติ
ประชากร ที่เพิ่มมากขึ้น มีผลต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• ต้องแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการอุปโภคบริโภคมากขึ้น
• ปรับปรุงเทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต
• ปรับปรุงคุณภาพผลผลิตสำหรับเลี้ยงประชากรโลก
• พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทางอุตสาหกรรม
• พัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร การขนส่ง
• มีการแข่งขันทางการค้าและอุตสาหกรรมในระดับโลก
ประชากรเพิ่มมากขึ้น
• ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างรวดเร็ว
• ระบบนิเวศเกิดการเปลี่ยนแปลง มีการสะสมของเสีย
• เกิดมลภาวะที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัย
• ปัญหาของระบบนิเวศ
มีสาเหตุหลากหลาย ระดับท้องถิ่น เช่น น้ำเสียที่เกิดจากครัวเรือน อากาศเสียจากโรงงาน
อุตสาหกรรมในเมือง

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่มีชีวิต
1 ความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
และความหลากหลายทางชีวภาพ
1.1 ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์จัดว่าเป็นส่วนหนึ่งหรือองค์ประกอบหนึ่งของระบบนิเวศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ธาตุอาหารและพลังงานที่มีอยู่ในระบบนิเวศเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แต่มนุษย์ไม่ได้จำกัดการใช้ธาตุและพลังงาน จากระบบนิเวศชนิดเดียวเท่านั้น แต่มีความสามารถที่จะใช้ธาตุอาหารและพลังงาน จากระบบนิเวศทุกระบบที่มีอยู่ในโลกทั้งหมด เช่น สามารถที่จะนำสัตว์ทะเลมาเป็นอาหาร นำน้ำจากใต้ดินขึ้นมาดื่ม นำพืชที่อยู่ในป่ามาเป็นอาหาร ฯลฯ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีวิวัฒนาการการใช้ทรัพยากรทั้งหลายที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ไม่ได้ใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายปกติเท่านั้น แต่มนุษย์ใช้ทรัพยากรเพื่อตอบสนองความต้องการด้านอื่นด้วย เช่น ที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า เครื่องประดับ น้ำมันเชื้อเพลิง และแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ภายในโลก
ในปัจจุบันมนุษย์เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ หรือต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย และในที่สุดมนุษย์ก็จะได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การเพิ่มประชากรทำให้คุณภาพของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม
การเพิ่มของประชากรก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลงดังนี้
1.สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ปัญหาน้ำเสีย อากาศเสีย ฝุ่นละออง และขยะ มูลฝอย เป็นต้น
2. สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ เช่นการสูญเสียระบบนิเวศที่ดีของสัตว์บกและสัตว์น้ำไป
3. การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ จากทรัพยากรธรรมชาติ ที่มีอยู่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เรื่องของการใช้น้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค และการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
4. คุณภาพชีวิต คุณภาพชีวิตของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยปัญหาของเมือง ปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐาน ปัญหาการจราจร ซึ่งรวมไปถึงปัญหาการดำรงชีวิต และปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นต้น
ผลกระทบของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อคุณภาพชีวิต
การเพิ่มจำนวนของประชากรมีผลโดยตรงต่อการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นก็ย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากร รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหากับประชากรด้วยเช่นกัน ดังมีกรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้
1. การขาดแคลนอาหาร
แม้ว่าผลิตผลทางการเกษตรของหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา จะมีปริมาณมาขึ้นก็ตาม แต่สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วผลผลิตจะคงที่ ขณะเดียวกันการเพิ่มจำนวนของประชากรทั้งโลกก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ประเทศที่มีความยากจนและขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ ยังคงขาดแคลนอาหารมากยิ่งขึ้น ดังกรณีตัวอย่างในประเทศในทวีปแอฟริกาหลายประเทศ เช่น เคนยา เอธิโอเปีย โซมาลี ต้องล้มตายลง เนื่องมาจากการขาดแคลนอาหาร ส่วนที่มีชีวิตอยู่ก็เป็นประชากรที่ ไม่สมบูรณ์ทั้งทางสมองและร่างกาย มีการประมาณกันว่าประชากรของโลกอย่างน้อยต้องตายลงเพราะการขาดอาหารอย่างน้อยปีละ 15 ล้านคน
2. การเกิดโรค
การเพิ่มสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น สารพิษจากการเกษตร น้ำเสียและควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ฯลฯ ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพอนามัยของผู้ที่ได้รับสารพิษเหล่านั้น อันตรายจากสารพิษมีตั้งแต่เล็กน้อย เช่น วิงเวียน ปวดศีรษะ แพ้อากาศ ไปถึงการเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ และถ้าได้รับสารพิษ ในปริมาณมาก ก็ทำให้เสียชีวิตได้ทันที
ในประเทศไทย เคยพบว่าผู้ที่ดื่มน้ำที่มีสารหนูเจือปน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เป็นพื้นที่เหมืองเก่า ทำให้ผิวหนังมีผื่นขึ้นทั่วไป การกินอาหารที่มีสารพิษตกค้างจากการเกษตร สารพิษที่เกิดจากการปรุงแต่งสีและรสชาด อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคหัวใจ มะเร็ง โรคผิวหนัง โรคตับ และมีผลต่อทารกในครรภ์มารดา การอยู่ในบริเวณที่เสียงดังเกินกว่า 80 เดซิเบล เป็นเวลานานก็อาจทำให้หูตึงได้
3. การอพยพย้ายถิ่น
การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและความแห้งแล้ง ทำให้ประชากรในหลายประเทศต้องอพยพย้ายถิ่น ไปหาแหล่งที่อยู่ใหม่ ทั้งเป็นการอพยพย้ายถิ่นภายในประเทศและระหว่างประเทศ ประเทศในทวีปแอฟริกาและเอเชีย นับว่ามีการอพยพ ย้ายถิ่นสูงกว่าประเทศในยุโรป และอเมริกาเหนือ
การอพยพย้ายถิ่นระหว่างประเทศในปัจจุบัน มักจะเกิดขึ้นหลายสาเหตุ ทั้งสาเหตุทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางความคิด และการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
4.ปัญหาสังคม
การขาดแคลนทรัพยากรได้ก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมา เช่น การที่ประชาชนบุกรุกป่าพื้นที่ป่าสงวน การตัดไม้อย่างผิดกฎหมายของผู้มีอิทธิพล เกิดการลอบทำร้ายซึ่งกันและกัน รวมทั้งเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการควบคุมดูแลทรัพยากร ประพฤติทุจริตต่อหน้าที่ จะเห็นได้ว่าปัญหาสังคมหลายอย่างมักจะมีสาเหตุมาจาก การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสาเหตุสำคัญ
5. ความยากจน
ต้นเหตุของปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นในโลกประการหนึ่งคือ การที่ประชากรของประเทศ ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ ประเทศที่จัดว่ามีความยากจน ก็มักจะเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากร และความหนาแน่นของประชากรมาก เช่น จีน อินเดีย บังคลาเทศ ยกเว้นในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ แต่ถ้าประชากรมีความรู้ดี ก็สามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแสวงหา เปลี่ยนแปลงและแลกเปลี่ยนทรัพยากรธรรมชาติได้ เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เป็นต้น
6.ขาดที่พักผ่อนหย่อนใจ
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาตินับว่าเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจที่ดีของมนุษย์ จะเห็นได้ว่าเมื่อบ้านเมืองมีความเจริญมากขึ้นเท่าไร ความต้องการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจตามธรรมชาติก็ยิ่งมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้นทุกวัน ในปัจจุบันประชากรที่อาศัยอยู่ในเมือง จะนิยมออกไปพักผ่อนตามชายทะเล น้ำตก อุทยานแห่งชาติ เขตสงวนพันธุ์สัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น แต่สถานที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจกลับมีอยู่อย่างจำกัด เมื่อประชากชนออกไปใช้กันมากขึ้น ก็กลับทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เช่น ที่บางแสน พัทยา สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม
7. ขาดสถานที่ศึกษาหาความรู้
สิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติเป็นแหล่งที่จะให้ความรู้ที่สำคัญแก่มนุษย์ได้ โดยตรง ไม่ว่ามนุษย์จะมีความก้าวหน้าขึ้นมากเท่าใด แต่การดำรงชีวิตของมนุษย์ ก็ยังคงจะต้องอาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติ การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบตัวมนุษย์ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้ต่อไป แต่การเปลี่ยนแปลง และก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน จะทำให้มนุษย์ขาดสถานที่ ที่จะศึกษาหาความรู้ได้โดยตรง ทำให้เกิดความยากลำบากที่จะส่งเสริมให้เกิดความรักและหวงแหนธรรมชาติและจะมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในอนาคต
วิเคราะห์ปัญหาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น อากาศเสีย น้ำเสีย การสูญเสียป่าไม้ ฯลฯ ต่างก็เกิดขึ้นเนื่องจากกิจกรรม ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่จะต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในที่สุดมนุษย์ก็จะได้รับผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเกิดโรคภัยไข้เจ็บ เกิดการขาดอาหาร เกิดการอพยพครอบครัว ฯลฯ ตามมา ดังนั้นถ้าจะวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมแล้ว จึงพอจะทราบสาเหตุของความเสื่อมทรามของสิ่งแวดล้อมว่า เกิดมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1. จำนวนประชากรมากเกินไป
การเพิ่มจำนวนประชากร ทำให้มีความต้องการที่จะใช้ทรัพยากรทุกชนิดเพิ่มขึ้น เช่น ความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดการบุกรุกที่ดินในเขตป่าสงวน ทำให้มีอัตราการใช้พื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น ต้องใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้น ทำให้ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ก่อให้เกิดอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฯลฯ
2. ธรรมชาติขาดความสมดุล
การร่อยหรอของทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบัน ก็เนื่องมาจากการกระทำของมนุษย์ที่มีการใช้ทรัพยากรเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทำให้สิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศไม่สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพสมดุลได้ เมื่อองค์ประกอบในระบบนิเวศขาดหายไป ทำให้เกิดการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมขึ้นมาใหม่ แต่ก่อนหน้านั้นความไม่สมดุลของธรรมชาติได้เกิดขึ้นแล้ว และความไม่สมดุลของธรรมชาตินี้เองก็จะทำให้สิ่งแวดล้อมอยู่ในสภาพเน่าเสีย มีสารพิษในอากาศ ต้นไม้ตาย อากาศร้อน ฯลฯ มนุษย์จะได้รับผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
3. ความจำกัดในการเติบโตของประชากร
ในอนาคต ถ้ามนุษย์ต้องตกอยู่ในสภาวะที่ทรัพยากรธรรมชาติร่อยหรอลงไป และมีความเป็นพิษมากขึ้น จำนวนประชากรก็จะไม่สามารถเพิ่มอีกต่อไป แต่กลับต้องลดลงมา จนกว่าจำนวน จะอยู่ในระดับที่พอดี ที่จะทำให้ธรรมชาติมีความสมดุล (ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ) ดังแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้
กราฟแสดงจำนวนจำกัดของประชากร

ในสภาวะที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมทรามลง ถึงขนาดที่จะทำให้จำนวนประชากร ลดลงนั้นจะเป็นภาวะวิกฤติของสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีอะไร จะมายับยั้งความตายของมนุษย์ลงได้ และหลังจากนั้นอีกเป็นเวลานาน กว่าที่สิ่งแวดล้อมหรือธรรมชาติจะกลับคืนสู่สภาพปกติได้อีกครั้งหนึ่ง
1.3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับความหลากหลายทางชีวภาพ
การรุกรานเข้าไปในพื้นที่ธรรมชาติเพื่อสร้างเขื่อน พื้นที่การเกษตร ทางหลวง ท่อน้ำมัน ระบบชลประทาน และการใช้ยาฆ่าแมลง มีผลทำให้ระบบนิเวศลดความซับซ้อนลง มนุษย์ทำการโค่นถางป่าไม้และปรับพื้นดิน เดิมพื้นที่นี้เต็มไปด้วย สิ่งมีชีวิตนับพันตระกูล ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคน ทั้งพืช สัตว์ และมนุษย์ก็มาทำการปกปิดพื้นดินเสียใหม่ด้วยการสร้างตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทางและพื้นที่การเกษตรครอบลงไป ด้วยการปลูกพืชเพียงอย่างเดียว การเกษตรกรรมสมัยใหม่ มีผลทำให้ระบบนิเวศ ในพื้นที่นั้นย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของความต่อเนื่อง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผลผลิตสุทธิเพียง 1 หรือ 2 ชนิด เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ในปริมาณสูง
ระบบการปลูกพืชให้โตเร็วปลูกเพียงชนิดเดียว มีผลทำให้ระบบอ่อนแอมาก วัชพืชและโรคพืชหรือแมลงศัตรูพืชเพียงชนิดเดียว สามารถทำลายแปลงปลูกพืชได้หมด แม้ว่าจะมีการพ่นสารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ป้องกันไว้แล้วก็ตาม เนื่องจากแมลงทีการผสมพันธุ์และออกไข่อย่างรวดเร็ว แมลงช่วงชั้นอายุใหม่ จึงมีความต้านทานสารเคมีสูง เกษตรกรจึงต้องใช้ยาฆ่าแมลงที่แรงและเข้มข้นมากขึ้น หรือเปลี่ยนไปใช้ยาฆ่าแมลงชนิดอื่นแทน สารเคมีเหล่านี้จะฆ่าชีวิตชนิดอื่นที่อาจจะช่วยจับแมลงด้วย
ดังนั้น การทำระบบนิเวศให้ซับซ้อนน้อยลง ในระยะยาวแล้วจะทำให้จำนวนแมลงเพิ่มขึ้น ไม่ใช่แต่การเพาะปลูกเท่านั้นที่จะทำให้ระบบนิเวศ ลดความซับซ้อนลง ในปศุสัตว์เพื่อเลี้ยงวัว ม้า แกะ แพะ มีผลทำให้สัตว์ธรรมชาติ ไม่มีที่อยู่ ถูกจำกัดหรือ สูญพันธ์ไป ซึ่งมีผลเสียดังที่กล่าวมาแล้ว
สมดุลระหว่างความไม่ซับซ้อนและความหลากหลาย
คงไม่ถือว่าเป็นความผิดในการที่มนุษย์ถางป่า ทำให้ระบบนิเวศลดความสลับซับซ้อนลง เพื่อนำพื้นที่ไปใช้ในการเพาะปลูกพืชอาหารเพื่อเลี้ยงมนุษย์ แต่ว่าการทำระบบนิเวศวิทยาให้ลดความซับซ้อนลงนี้ มนุษย์ต้องจ่ายมากขึ้น เพื่อรักษาระบบให้มีเสถียรภาพ ทั้งเวลา เงิน สสาร และพลังงาน ซึ่งสรุปได้ดังตารางในหน้าถัดไป
อันตรายที่ยิ่งใหญ่ในขณะนี้คือ มีประขากรมนุษย์เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ทำให้มนุษย์ต้องทำลายระบบนิเวศเพิ่มขึ้น เพื่อนำพื้นที่มาปลูกพืชอาหาร ข้อควรปฏิบัติก็คือ
มนุษย์ควรรักษาดุลระบบนิเวศเอาไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้ามนุษย์ถางป่าในที่ราบเพื่อเป็นพื้นที่เพาะปลูก ควรรักษาพื้นที่ป่าบนภูเขาเอาไว้ เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธาร เพื่อให้ป่าไม้ค่อย ๆ ปล่อยน้ำลงสู่ที่ราบ และเป็นแหล่งผลิตสารอาหารพืชตามธรรมชาติ ซึ่งจะถูกพัดพาลงสู่ที่ราบในฤดูฝน อย่างไรก็ตามการจะรักษาดุลระบบนิเวศไว้ได้ มนุษย์ยังต้องเรียนรู้กลไกของระบบนิเวศอีกมากเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ ที่แท้จริงของระบบนิเวศ จะได้เป็นข้อมูลในการรักษาดุลระบบนิเวศได้อย่างมีประสิทธ์ภาพต่อไป
ตารางแสดง การเปรียบเทียบคุณสมบัติของระบบนิเวศธรรมชาติกับระบบนิเวศที่ไม่ซับซ้อนที่มนุษย์สร้างขึ้น
ระบบนิเวศธรรมชาติ ระบบนิเวศที่ไม่ซับซ้อน
หนองน้ำ ทุ่งหญ้า ป่าไม้ ไร่ข้าวโพด โรงงานและ บ้าน
1. ดูดซับ เปลี่ยนแปลง และสะสมพลังงาน
จากดวงอาทิตย์ 1. บริโภคพลังงานจากเชื้อเพลิง จากซาก
บรรพชีวิต และนิวเคลียร์
2. ผลิตออกซิเจน บริโภคคาร์บอนไดออกไซด์ 2. บริโภคออกซิเจนและผลิคาร์บอนได-ออกไซด์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงจาก
ซากบรรพชีวิน
3. ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ 3. ลดความอุดมสมบูรณ์หรือปกปิดดิน
4.สะสม ทำความสะอาดและระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง 4.ใช้น้ำและทำให้น้ำสกปรก แล้วปล่อยทิ้งอย่างรวดเร็ว
5. สร้างถิ่นที่อยู่ให้สัตว์ป่า 5. ทำลายถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่าบางชนิด
6. กรองกละกำจัดพิษของมลสารและไม่สร้างของเสียให้เกิดขึ้น 6. ก่อให้เกิดมลสาร ขยะมาก ที่จะทำความสะอาดได้ด้วยความสามารถ
ของมนุษย์ในปัจจุบัน
7. ตามปกติมีความสามารถและดำรงสภาพ และ ซ่อมแซมด้วยตัวมันเองได้ 7. จำเป็นต้องดูแลและรักษาอย่างต่อเนื่องและมีการดูแลด้วยทุนสูง
การลดความหลากหลายในระบบนิเวศด้วยการกำจัดและนำชีวิตตระกูลใหม่เข้ามา
มนุษย์ทำการแบ่งพืชและสัตว์เป็นสองพวกคือ พวกดีมีคุณค่า กับพวกไม่ดีไร้คุณค่า และถือเป็นหน้าที่ที่จะกำจัดชีวิตที่ไม่พึงปรารถนาออกไป การกำจัดชีวิตหนึ่ง ๆ ออกไป ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ เป็นสิ่งที่ต้องพึงระวัง ชีวิตนั้นมีความสำคัญมาก เพราะมันอาจจะเป็น
1. โซ่อาหาร หรือโครงข่ายอาหาร
2. วัฏจักรเคมี หรือวัฏจักรของพลังงาน
3. เป็นสิ่งที่มีชีวิตที่เป็นดรรชนีบ่งบอกความสมดุลของระบบนิเวศ เมื่อชีวิตที่เป็นดรรชนี บ่งบอกความสมดุลของระบบนิเวศนั้นถูกกำจัดไป ผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึง อาจเกิดขึ้นรุนแรง เกินกว่าที่จะคาดคิดก็อาจเป็นได้
ผลกระทบเชิงนิเวศวิทยาอาจเกิดจากการนำชีวิตตระกูลใหม่ เข้าสู่พื้นที่ก็อาจเป็นได้ ในปี ค.ศ.1948 มีการนำแมว 5 ตัว ไปยังเกาะโดดเดี่ยว คือเกาะแอนตาร์กติค เพื่อควบคุมประชากรหนู ปัจจุบันนี้เกาะนั้นก็ยังมีหนูอย่างอุดมสมบูรณ์พร้อมทั้งมีแมวป่าเพิ่มอีก 2,500 ตัว ซึ่งไล่จับนกบนเกาะกินมากกว่าปีละ 600,000 ตัว
ในมลฑลเสฉวน ประเทศจีน ทำการโฆษณาให้ประชาชนช่วยกันจับงูเป็น ๆ จำนวน 200,000 ตัว เพื่อใช้ทำยาและอาหาร ปรากฏว่าโครงการสำเร็จด้วยดีแต่ผลที่ตามมาคือ มีหนูเพิ่มขึ้นจำนวนมหาศาล หนูเหล่านี้สร้างความสูญเสียให้กับชาวไร่ ข้าวโพดและนาข้าวสุดคณานับ
การทำลายโครงข่ายอาหารจากสารเคมีสังเคราะห์
ครั้งหนึ่งมาเลเรียเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนในเกาะบอร์เนียวเหนือมากถึง 9 ใน 10 ของผู้เสียชีวิต ในปี ค.ศ.1955 องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงทำการพ่นสารเคมีชื่อ ดีลดริน (Dieldrin) เป็นยาฆ่าแมลงที่มีคุณสมบัติคล้าย DDT เพื่อฆ่ายุงพาหะของไข้ มาเลเรีย โครงการกำจัดไข้มาเลเรียในเกาะบอร์เนียวเหนือ ประสบความสำเร็จอย่างสูงโรคแห่งมรณะภัยสูญหายไปจากเกาะบอร์เนียวเหนือ แต่ว่ามีเหตุการณ์อย่างอื่นเกิดขึ้น ดีลดรินฆ่าแมลงอื่นด้วยนอกจากยุง รวมทั้งแมลงวันและแมลงสาบซึ่งมีถิ่นฐานอยู่ในบ้านเรือน ชาวเกาะต่างก็ชื่นชมยินดีหลังจากนั้นแม้แต้จิ้งจกตัวเล็ก ๆ ซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านต่างก็ตายลงด้วย เมื่อจิ้งจกไปกินซากแมลงที่ตายด้วยยาฆ่าแมลง เมื่อแมวไปกินซากจิ้งจก แมวก็ตายลงเช่นกัน เมื่อไม่มีแมว หนูจึงเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วและวิ่งเพ่นพ่านเต็มหมู่บ้านไปหมด ตอนนี้ประชากรจึงต้องมาตายลงด้วยกาฬโรคที่มีหมัดหนูเป็นพาหะ โชคดีที่ภาวะเลวร้ายนี้ องค์การอนามัยโลกเข้าไปควบคุมไว้ได้ โดยการใช้เครื่องบินนำแมวไปทิ้งลงบนเกาะบอร์เนียวด้วยร่มชูชีพ เหนืออื่นใดหลังคาใบจากของบ้านเรือนชาวเกาะบอร์เนียวเริ่มมีรูโหว่ เนื่องจากดีลดริน ฆ่าตัวหมาร่าและมดที่อาศัยอยู่ตามหลังคาบ้านเรือนที่ทำด้วยใบจาก หมาร่าและมดดำรงชีพอยู่โดยการกินมอดที่กินใบจาก มอดไม่ได้รับผลกระทบจากยาฆ่าแมลง เนื่องจากถูกปกปิดด้วยใบจาก เมื่อศัตรูธรรมชาติของมอดสูญพันธ์ มอดจึงมีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตัวอ่อนของมอดจึงเติบโตได้อย่างปลอดภัยด้วยการกินใบจากที่ใช้ทำหลังคาบ้าน แม้ว่าในที่สุดชาวเกาะบอร์เนียวจะปราบไข้มาเลเรียได้ แต่ว่าผลข้างเคียงที่ไม่ได้คาดคิดก็ตามมาอีกมาก แม้ว่าในที่สุดเหตุร้ายทุกอย่างจะถูกควบคุมไว้ได้ แต่ก็เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบที่มีมากเกินกว่าจะคาดคิด ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากเราไปขัดขวางระบบนิเวศ
การรักษาเสถียรภาพของความหลากหลายทางชีวภาพ
ปัจจุบันเชื่อกันว่า ระบบนิเวศวิทยายิ่งมีความหลากหลายมากขึ้น และสลับซับซ้อน มากขึ้นเพียงใด เสถียรภาพของระบบนิเวศวิทยา ก็ยิ่งมีมากขึ้นเพียงนั้น โดยเชื่อกันว่า ยิ่งเผ่าพันธ์สิ่งมีชีวิต มีความหลากหลายมากขึ้นเพียงใด แสดงว่าโครงข่ายอาหารยิ่งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น เสถียรภาพของระบบนิเวศยิ่งมีมากขึ้น ความหลากหลายของเผ่าพันธุ์ชีวิตก็มีมากตามไปด้วย และทำให้บทบาทหน้าที่เชิงนิเวศวิทยาของแต่ละชีวิต ยิ่งมีมากขึ้น ความสลับซับซ้อนของโครงข่ายอาหารช่วยให้ระบบนิเวศวิทยามีเสถียรภาพมากขึ้น เนื่องจากสัตว์มีแหล่งอาหารมากขึ้น เช่น ชีวิตเผ่าพันธ์หนึ่งสูญไปสัตว์ล่าเหยื่อ ก็ยังมีแหล่งอาหารอื่น ๆ สำรองอยู่อีกเป็นต้น
แต่ความหลากหลายและความสลับซับซ้อน ช่วยให้ระบบนิเวศมีเสถียรภาพมากขึ้นจริงหรือ ถ้าความคิดนี้เป็นจริง ระบบนิเวศที่ไม่สลับซับซ้อน เช่น ระบบนิเวศวิทยาเขตทุนดรา และทุ่งเกษตรกรรมที่ปลูกพืชเพียงชนิดเดียว (monoculture) ก็ต้องมีเสถียรภาพน้อยกว่าเสถียรภาพของระบบนิเวศที่มีความหลากหลาย และสลับซับซ้อนมากกว่าเช่น ป่าดงดิบเขตร้อน ป่าดงดิบเป็นระบบนิเวศที่มีสภาวะ เสถียรภาพสูงมาก ถ้าป่านั้นไม่ถูกก่นถางเสียก่อน และสิ่งที่มีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ในป่าดงดิบนั้นมีความหลากหลายในเผ่าพันธุ์ และขนาดของประชากรของสิ่งมีชีวิต มากกว่าในเขตทุนดรา พืชอาหารที่ทำการปลูกเพียงชนิดเดียวมีแนวโน้มจะถูกทำลายด้วยโรคพืช หรือศัตรูพืชเพียงชนิดเดียวได้สูงมาก และเกษตรกรต้องให้การดูแลอย่างดี
นักนิเวศวิทยาให้ความเห็นว่าสภาพนิเวศวิทยาของป่าเขตร้อน นั้นเป็นผลมาจากภูมิอากาศคงที่ตลอดปี และเป็นเช่นนี้มานับ หนึ่งพันปี และกล่าวเพิ่มเติมว่า ป่า ดงดิบนั้นจะไร้เสถียรภาพมาก เมื่อมีการตัดไม้ซุงออกไป หรือเพียงก่นถางเป็นพื้นที่ไม่มากนัก ป่าจะกลับคืนสภาพเดิมได้ช้ามาก เช่นเดียวกับความไร้เสถียรภาพในเขตทุนดรา ที่สังเกตได้จากความไม่สม่ำเสมอของความหลากหลายในจำนวน และขนาดประชากรของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้เนื่องจากความไม่แน่นอนของภูมิอากาศในเขตทุนดรา นั่นเอง แม้กระนั้นก็ตามป่าทุนดรา จะมีแรงเค้นเข้าครอบงำได้น้อยกว่า แต่เมื่อถูกทำลายไปแล้ว การจะกลับคืนสภาพเดิมก็ช้ากว่าป่าดงดิบมาก
มีปัญหาบางประการที่ทำให้มีการโต้แย้งว่า เสถียรภาพของระบบนิเวศวิทยามาจากความหลากหลายและสลับซับซ้อนของระบบจริงหรือ ? ประการแรก จากการทดลองทางวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มสนับสนุนว่า ความเชื่อดังกล่าวจะเป็นจริงในระบบนิเวศในน้ำ และระบบในโลกแห่งความเป็นจริง ประการที่สอง คำว่าความหลากหลายกับความสลับซับซ้อนมีหลายความหมาย อาจหมายถึงความหลากหลายของชาติพันธุ์ ความหลากหลายของโครงข่ายอาหาร ความหลากหลายของสารพันธุกรรม ความหลากหลายของบทบาทหน้าที่ในระบบนิเวศ ความหลากหลายเชิงชีววิทยา
ความหลากหลายทำให้เกิดเสถียรภาพ ในระบบนิเวศนั้น เป็นจริงในบางกรณี การนำไปประยุกต์ ใช้กับทุกสถานการณ์ จึงเป็นเรื่องที่ควรคำนึง

ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต
การดำรงอยู่ของมนุษย์นั้นจะต้องอยู่ภายใต้ระบบนิเวศซึ่งอาจจะเป็นระบบเดียว
หรือหลายระบบในบริเวณหนึ่งบริเวณใด ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วยมนุษย์ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตอันได้แก่สิ่งมีชีวิตที่หลากหลายหรือชีวาลัย
สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่ไม่มีชีวิตซึ่งได้แก่ พื้นดิน น้ำและอากาศ และ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีลักษณะของความ สัมพันธ์ดังต่อไปนี้
ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติที่มีชีวิต ความสัมพันธ์กับ
สิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตบางปัจจัย ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ที่มนุษย์สร้างขึ้น


กระบวนการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่อยู่เป็นระบบนิเวศทางเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นจำเป็นต้องมีปฎิสัมพันธ์กับระบบนิเวศทาง
ชีววิทยาแบบต่าง ๆระบบนิเวศทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะระบบอุตสาหกรรมนั้นเป็นระบบที่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยระบบนิเวศทาง
ชีววิทยาอย่างที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมจึงมีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ หรือเป็นความ สัมพันธ์ที่ต่างเป็นเหตุและผลซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์ที่สำคัญได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจริยธรรม ที่มีผลต่อระบบคุณค่าและค่านิยมของสังคม จุดมุ่งหมาย การจัดองค์กรทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และระดับการพัฒนาเทคโนโลย ีจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมก็ย่อม มีผลต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไป ย่อมที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ตามธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะกระทบกระเทือนต่อการดำรงชีพของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แต่สภาวะแวดล้อมในปัจจุบันไม่เพียงเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติเท่านั้น มนุษย์ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก ยิ่งถ้าไม่มีการวางแผนที่รอบคอบและรัดกุม จะก่อให้เกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะ แวดล้อมจนอาจจะปรับคืนสู่สภาพปกติได้ยากหรือทำให้เสียสภาพเดิมไป กลายเป็นสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีพ และถึงขั้นที่อาจเป็น อันตรายต่อ สิ่งมีชีวิตได้



อิทธิพลของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม
ในสมัยก่อนที่ประชากรของมนุษย์บนโลกยังมีจำนวนเพียงเล็กน้อยนั้น การดำเนินชีวิตของมนุษย์ไม่ได้สร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมแต่อย่างไร แต่ต่อมาเมื่อมนุษย์เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาวิถีชีวิตด้วยเทคโนโลยีให้มีความเป็นอยู่สุขสบายดี การบุกรุกสภาพสมดุลของธรรมชาติจึงเกิดขึ้นอย่างรุนแรง
ปัจจุบันนี้มนุษย์มักจะทำให้ระบบนิเวศในโลกนี้เป็นระบบนิเวศที่ธรรมดา โดยเฉพาะการเกษตรในปัจจุบันได้พยายามลดระดับต่าง ๆ ในห่วงโซ่อาหารให้เหลือน้อยที่สุด โดยการกำจัดพืชและหญ้าหลายชนิดไปเพื่อพืชชนิดเดียว เช่น ข้าวสาลี หรือข้าวโพด ซึ่งทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ความมั่นคงระบบนิเวศลดน้อยลง หากมีโรคระบาดเกิดขึ้น โอกาสที่ระบบนิเวศจะถูกทำลายก็จะมีมาก
นอกจากนั้น บริเวณการเกษตรทั่วโลกก็นับเป็นบริเวณที่ระบบนิเวศถูกทำลายมาก ทั้งนี้เพราะมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย สารพิษที่เกิดจากการเกษตรและอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหล่านี้จะสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตระดับสูง ๆ ได้ตามห่วงโซ่อาหาร จึงมักสะสมอยู่ในสิ่งมีชีวิตในปริมาณที่เข้มข้นกว่าที่มีในสิ่งแวดล้อมเสมอ ดังตัวอย่างของการใช้ DDT
เมื่อมีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในบริเวณที่หนึ่ง DDT ซึ่งเป็นส่วนผสมของยากำจัดศัตรูพืชนั้น จะตกค้างอยู่ในดินถูกชะล้างลงในแม่น้ำและสะสมอยู่ในแพลงค์ตอน เมื่อสัตว์น้ำชนิดอื่น เช่น ปลามากินแพลงค์ตอน DDT ก็จะเข้าไปสะสมในตัวปลาเป็นปริมาณมากกว่าที่อยู่ในแพลงค์ตอนและเมื่อนกซึ่งกินปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เข้าไป ก็จะสะสมไว้ในปริมาณสูง เมื่อสัตว์อื่นมากินนกก็ยิ่งจะทำให้การสะสม DDT ในตัวมันสูงมากขึ้นไปอีก ถ้า DDT สูงขึ้นถึงขีดอันตรายก็จะทำให้สัตว์ตายได้หรือไม่ก็ผิดปกติ DDT ส่วนใหญ่จะสะสมในเนื้อเยื่อไขมันและขัดขวางการเกาะตัวของ แคลเซี่ยมที่เปลือกไข่ทำให้ไข่บางแตกง่ายและไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้มีรายงานว่าในประเทศสวีเดน และในประเทศญี่ปุ่นมีนกบางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เนื่องจากผลกระทบสะสมตัวของ DDT
การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศ มิฉะนั้นก็อาจจะเกิดผลเสียหายร้ายแรง ทั้งต่อสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของมนุษย์เอง ตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนทำให้เกิดบริเวณน้ำขังจำนวนมหาศาลอาจทำให้เกิดการระบาดของโรคเนื่องจากพาหะของโรคนั้นสามารถเติบโตได้ดีในบริเวณน้ำนิ่ง

ปัจจุบันปะการังได้ถูกทำลาย เนื่องจากกิจกรรมการท่องเที่ยว วิธีการที่จะดำเนินการฟื้นฟูวิธีการหนึ่ง โดยการสร้างปะการังเทียม โดยนำยางรถยนต์ไปไว้ใต้ทะเลให้ปะการังอาศัยเกาะอยู่ เพื่อให้มีส่วนปรับระบบนิเวศในท้องทะเล
ชีวาลัย (Biosphere) เป็นส่วนหนึ่งของโลก ที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ได้แก่ บริเวณที่เป็นมหาสมุทรน้ำจืด บรรยากาศและชั้นดินบางส่วนมีผู้เปรียบเทียบว่าถ้าให้โลกของเราสูงเท่ากับตึก 8 ชั้น ชีวาลัย (Biosphere) จะมีความหนาเพียงครึ่งเท่านั้นซึ่งแสดงว่าบริเวณที่มีสิ่งมีชีวิตอยู่ได้นั้นบางมาก ทรัพยากรธรรมชาติจึงมีจำกัดเกินกว่าที่เราคาดหมายไว้ มนุษย์เองเป็นเพียงส่วนน้อยนิดของชีวาลัยซึ่งยังต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม ในชีวาลัย เพื่อมีชีวิตรอดมนุษย์อาจจะเปลี่ยนหรือทำลายระบบนิเวศระบบใดได้ แต่มนุษย์จะไม่สามารถทำลายชีวาลัยได้ เพราะเท่ากับเป็นการทำลายตนเอง
ดังนั้นการเรียนรู้เรื่องนิเวศวิทยา จึงเป็นการทำให้มนุษย์ได้เข้าใจถึงฐานะ และหน้าที่ของตัวเองว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบเท่านั้น การกระทำใด ๆ ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมมีผลเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ในระบบด้วยเช่นเดียวกับที่มีผลต่อมนุษย์เอง
ดังนั้นเราจึงควรตระหนักว่าในการพัฒนาใด ๆ ของมนุษย์ที่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อเป็นวัตถุดิบนั้นเราจะต้องคำนึงถึงปัญหาการเสียสมดุลทางนิเวศวิทยาด้วย เพื่อไม่ให้การพัฒนานั้นย้อนกลับมาสร้างปัญหาต่อมนุษย์เองไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภาวะมลพิษหรือการขาดแคลนทรัพยากรในอนาคต

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม